<<>> ชีวิตเขาไม่มีทางลัด และก็เป็นชีวิตไม่ใช่โชคชะตาที่พระเจ้าประทาน

หากกว่าจะไขว่คว้าเอาคำว่า ‘ชนะ’ มากอดก่ายไว้แนบกาย กว่าจะผ่านไปแต่ละยก แต่ละแมตช์ ต้องแลกด้วย ความเจ็บปวด ยิ่งหากวินาทีไหนพลาดท่า สมาธิหลุด ถูกอวัยวะ หมัด ศอก แขน ขา ที่เปลี่ยนแปลงเป็นอาวุธแข็งเหมือน ‘เหล็กกล้า’ ฟาดลงมาบนใบหน้าตรงส่วนกระดูก-เนื้ออ่อนๆ เลือดอุ่นๆ ก็ไหลท่วมออกมา ย้อมสังเวียนให้แดงฉาน กลิ่นคาวคลุ้งแรงออกมาได้ทุกเวลา

 

หาก ‘ร่างกาย’ ไร้ระเบียบวินัย ไร้การฝึกฝน และหาก ‘หัวใจ’ ไร้น้ำอดน้ำทน ไร้ซึ่งความมุ่งมั่นไปถึง’เป้าหมาย’ ใครหรือจะอดทนยืนระยะเผชิญหน้ากับความเจ็บปวดเจียนตายได้มาเกือบครึ่งค่อนชีวิต 

 

 

จากเด็กบ้านนอกแร้นแค้น เดินหน้าต่อยมวยเพราะพ่อ จับพลัดจับผลู เอาฝีมือ และการฝึกปรือหนัก กระทั่งมีชื่อจากดินแดนใต้ด้ามขวานไทย มาโด่งดังเป็นแชมป์มวยไทยในเมืองกรุง นอกจากเส้นทางหนุ่มใต้ที่ไม่มีแต้มต่อ ล้ม ลุก คลุกคลาน น่าสนใจ อีกมุมดราม่าที่ต้องเผชิญหนักๆ ในชีวิต ฟังแล้วน่าขนลุกน้ำตารื้นได้เหมือนกัน

 

ตอนนั้นพ่อป่วยในเรือนจำ จนอาการโคม่า… เขาเว้นจังหวะคล้ายมีอะไรจุกอยู่ที่คอ น้ำตาลูกผู้ชายเริ่มเอ่อ ‘โคม่า’ ทั้งยังมีตรวนติดอยู่ที่ 2 ขา ผมตัดสินใจว่าถ้าไปบอกทางเรือนจำแล้วไม่ปลดล็อกพ่อ จะเอาเลื่อยเหล็กที่เตรียมมาตัดตรวนเพื่อให้พ่อไปสบาย… 

คงจะไม่ผิดหากจะบอกว่า นอกจากเขาจะเป็นนักมวยครบเครื่องมากที่สุดคนหนึ่งในยุคนี้ ครบเครื่องทั้งฝีมือ ความมุ่งมั่น การต่อสู้ ชีวิต แนวคิด แต่จะช่วงวัยก็น่าสนใจอย่างยิ่ง 

 

ด้านล่างนี้คือเรื่องราวยิ่งใหญ่ นักมวยโด่งดัง ที่ต่างประเทศให้การยกย่องมากมาย เดินทางกลับมาป้องกันแชมป์ที่บ้านเกิด แผ่นดินพ่อ แผ่นดินแม่ ที่บอกไทยรัฐออนไลน์เป็นหนักเป็นหนาด้วยเสียงสั่นเครือว่า

ทุกครั้งที่คว้าชัยชนะบนเวที เขาจะเอารูป ‘พ่อของแผ่นดิน’ ชูสุดแขน ไว้ ‘เหนือหัว’ แล้วตะโกนก้องว่า ‘ทรงพระเจริญ’

 

 

 

บทที่ 1 : ชัยชนะแรก 10 ขวบ กับเงิน 10 บาท   

 

ชีวิตเหมือนพลอตหนังดราม่า…เดชดำรงค์ ส.อำนวยศิริโชค โตมาอาศัยอยู่กับยายตั้งแต่เด็ก (มีพี่น้อง 3 คน) พ่อ-แม่ทำงานหนัก กว่าจะกลับบ้านก็ในฤดูทำนา ช่วงไหนไม่มีเงิน ก็อาศัยยิงนกตกปลาทำอาหารประทังชีวิตไป แต่ส่วนใหญ่จะฝากท้องไว้กับวัดแถวบ้านซะมากกว่า 

“ผมชกมวยบนเวทีครั้งแรกในชีวิตตอนอายุ 10 ขวบ (จริงๆ ชกก่อนหน้า เพราะลุงพนันเหล้าตามประสาคนชนบท) พ่อชอบพาผมไปดูมวย ผมชอบ เพราะมันเป็นศิลปะป้องกันตัวและยังเป็นกีฬาลูกผู้ชาย แต่แม่ไม่อยากให้ชก (ยิ้ม) กลัวลูกเจ็บ แมตช์แรกแม่รู้อีกทีตอนอยู่บนเวที ชนะได้ค่าขนมมา 70 บาท ถือว่าเยอะ จำได้ว่าผมเอาเงินไปให้แม่ และก็ขอเงินซื้อกินขนมตามประสาเด็ก” 

 

จากชัยชนะและการบอบช้ำเล็กน้อย เขา ‘ซ้อมหนัก’ เรื่อยมา แพตเทิร์นต้องแม่นยำ แตกต่างกับปัจจุบัน อย่าง กระสอบปุ๋ยข้าวใช้ซ้อมเตะ-ต่อย ไม่ได้ใส่แกลบเหมือนสมัยนี้ ใช้ขี้เลื่อย ใช้ทราย ฝนตกมาก็เลอะเทอะกันหมด อย่างยืนการ์ดมวยธรรมดาให้ถูก-แน่น ใช้เวลาเป็นอาทิตย์

“วันหนึ่งมีครูมวยชื่อ “ประเสริฐ รักแก้ว” เห็นเด็กๆ ซ้อมมวยกัน จึงตัดสินใจตั้งยิมสร้างเป็นค่ายชื่อ “ป.ปาหนัน” โดยแกเป็นคนซ้อม ซ้อมมวยก็ไม่เหมือนสมัยนี้ เมื่อก่อนกว่าจะยืนการ์ดมวยธรรมดาๆ ทำเป็นอาทิตย์ ออกหมัดแย็บ 1-2 ใช้เวลาเกือบเดือน มันถึงจะได้รูปมวยที่คมและสวยงาม”

 

พื้นฐานมวยสมัยก่อนกับสมัยนี้แตกต่างกัน โดยเฉพาะเรื่องซ้อมที่น้อยมาก นักมวยไทยชื่อดังรำพึง สมัยก่อนแน่นมาก เอาท่ายืน ท่าต่อย ท่าปล่อยหมัดใช้เวลานาน กว่าจะได้เตะเป้า เตะอุปกรณ์ ซ้อมหนัก ให้แน่นแบบนี้ทุกวัน กระทั่งเวลาผ่านไป 2-3 เดือนจึงนำมวยมาเปรียบต่อยกัน…ยังไม่จบนะครับ  เข้าไปอ่านต่อ ตอนจบใน * คอลัมน์ เสราะกราว*  ข้างล่าง หน้าเว็บแรกกัน นะครับ..

 

@ credit news –image ::  www.thairath.co.th

เชิญแสดงความคิดเห็นอย่างสุภาพ

comments