มวยสากลของอังกฤษ แบ่งได้เป็น 3 ระยะ คือ

ระยะแรก ในระหว่างปี ค.ศ. 1698 ถึง 1790 อาจเรียกได้ว่าเป็น??สมัยมงกุฎผีสิง??เนต ในปี ค.ศ. 1740 ได้คำเนินการสอนมา และเป็นบุคคลแรกในปี ค.ศ. 1740 ที่ได้คิดกติกามวยสากลขึ้นจนได้ชื่อว่าเป็นบิดาแห่งมวยสากลอังกฤษ

ในปีเดียวกัน บรูตัน ก็ได้ประดิษฐ์นวมขึ้นในการชกมวย แต่คงใช้ในการสอนศิลปะการต่อสู้ป้องกันตัวของลูกผู้ชายเท่านั้น สำหรับมวยอาชีพยังให้มือเปล่าอยู่ อย่างไรก็ดีมวยสมัยนั้นก็ได้ตกทอดมาถึงมวยสากลในปัจจุบันนี้ ต่อมาในปี 1792 แต่เปีย เมนซ่า ได้ครองตำแหน่งผู้ชนะเลิศและได้พยายามรักษาตำแหน่งไว้จนถึงปี 1795 จึงได้เสียตำแหน่งแก่ จอห์น แจ๊คสัน ได้สละตำแหน่งในเวลาต่อมา และเปิดฝึกมวยขึ้นจนมีชื่อเสียง ด้วยมีลูกขุนนางและสุภาพชนมากหน้าหลายตามาสมัครเรียน มวยจึงกลายเป็นศาสตร์ที่เราต่างศึกษากันจนถึงวันนี้

ต่อมาเนื่องจากมีการให้รางวัลเป็นเงินตราแก่นักมวย เงินตราจึงมีอิทธิพลเหนือการแข่งขันโดยได้มีการติดสินบนแก่ผู้จัดการของนัก มวย มวยจึงเป็นเครื่องมือหากินของเจ้าของเงินตราไป สมาคมหลายแห่งต้องล้มเลิกในระยะต่อมา วิกฤติการณ์ แห่งวงการนักมวยได้เกิดขึ้นดังนี้ ทางราชการอังกฤษ จึงไม่ร่วมมือด้วยนักมวยเองก็ละเมิดกติกา จึงมีอันตรายเกิดขึ้นเนือง ๆ ในที่สุดวงการมวยสากลของอังกฤษก็เสื่อมลงไประยะหนึ่ง

เมื่อวิเคราะห์ดู กติกามวยสากลที่ บรูตัน คิดขึ้นแล้วจะเห็นได้ว่ายังไม่รัดกุม เช่น จำนวนยกที่กำหนดไว้ไม่แน่นอน สักแต่ว่าทำการแข่งขันไปจนกระทั่งนักมวยคนใดคนหนึ่งถูกน็อค หรือถูกเหวี่ยงจนล้มและไม่สามารถจะลุกขึ้นมาต่อสู้ได้อีกในเวลา 30 นาที การฟาวล์มีเพียง 2 ข้อเท่านั้น คือ การชกขณะล้ม และกอดหรือหมัดต่ำกว่าเอว กติกาเหล่านั้นภายหลังได้ชื่อว่า เป็นกติกาเกิดขึ้นใหม่ด้วยความร่วมมือของจอห์น ยี. เชมเบอร์ ในปี ค.ศ.1866 จึงได้รับความนิยมจากบุคคลทั่วไปว่าเป็นกติกาสากลอันเป็นรากฐานของกติกาที่ ใช้กันอยู่ทุกวันนี้ ในกติกาได้แบ่งการแข่งขันออกเป็น 3 ยก โดย 3 ยกแรกยกละ 3 นาที ยกสุดท้าย 4 นาที การตัดสินก็โดยความเห็นชอบจากฝายข้างมากของผู้ตัดสิน ผู้ใดถูกชกล้มสามารถลุกขึ้นมาต่อสู้ได้อีกภายใน 10 วินาที การชกต้องสวมนวมชกตลอดเวลา ผู้ชี้ขาดต้องอยู่ในสังเวียนเพียงคนเดียว กับนักมวยอีกสองคนเท่านั้น กติกานี้วงการมวยสมัครเล่นนำไปใช้ทันที แต่สำหรับมวยอาชีพได้เปลี่ยนแปลงไปบ้าง เพียงเรื่องจำนวนยก คือจะสู้กันกี่ยกก็ได้แล้วแต่เพิ่มระเบียบการตัดสินและการบันทึกให้รัดกุม ยิ่งขึ้นเท่านั้น

การใช้นวมเริ่มกันอย่างจริงจังในการชกมวยสากลสมัครเล่น?สมัยการใช้กติกา ควีนส์เบอร์ บี ค.ศ. 1860 นี้เอง ก่อนนั้นนิยมการพันมือแทนนวม และค่อยๆ เปลี่ยนแปลงเรื่อยๆ มาจนถึงสมัยกิจการมวยได้ถูกยกขึ้นเป็นศิลปะ ความจริงการใช้นวมทำให้การชกลดอันตรายลงได้มากและทำให้การชกรวดเร็วน่าดู ยิ่งขึ้น ผู้ชกไม่ต้องพะวงถึงอันตรายเกี่ยวกับมือหักหรือเคล็ดอีกต่อไป

ในปี ค.ศ. 1882 จอห์น ซัลลิแวน ชาวอเมริกันได้ชกชนะ แพ็คคคี้ ไรอั้น ชาวอังกฤษ และได้รับยกย่องให้เป็นผู้ชนะเลิศแห่งอเมริกัน ในการชกตามกติกามวยชิงรางวัลแห่งกรุงลอนดอน 9 ยก ที่เมืองมิสซิสชิบบี้

ในปี ค.ศ. 1887 แจ็ค คิลเร่น แห่งอเมริกา เสมอกับ เจมส์สมิธ แห่งอังกฤษ และในการแข่งขันคราวนี้เองได้เป็นที่ยอมรับกันว่า ทั้งคู่ได้เป็นผู้ครองเข็มขัดผู้ชนะเลิศแห่งโลกเป็นครั้งแรก

ต่อมาในวันที่ 8 กรกฎาคม ปี ค.ศ. 1889 จอห์น แอล ซัลลิแวน ได้ชิงตำแหน่งชนะเลิศของโลก จากแจ๊ค คิลเร่น ที่เมืองริชเยอร์ก มลรัฐมิสซิสชิบบี้ ซึ่งเป็นการต่อสู้แบบมือเปล่าครั้งสุดท้ายในอเมริกา เป็นจำนวนถึง 75 ยก ชิลล์แวนผู้เลิศประกาศว่าจะไม่ชกด้วยมือเปล่า อีกต่อไป

ในปี ค.ศ. 1914 มี 5 รัฐ ในอเมริกา คือ นิวยอร์ค แคลิฟอร์เนีย หลุยส์เซียน่า เนวาด้า และฟอริดา ได้ตกลงแบ่งจำนวนออกเป็น 20 ยกเหมือนกัน ในปีนี้รัฐบาลกลางได้ตรากฎหมายควบคุมในรัฐแคลิฟอร์เนีย ได้แบ่งการชกเหลือเพียง 4 ยก ในปี 1915

ระหว่างปี ค.ศ. 1915 ? 1930 นับว่าเป็นระยะการชกมวยในสหรัฐอเมริการุ่งเรืองถึงขีดสุด มลรัฐนิวยอร์ค และมลรัฐวิสคอนซิล ได้ตรากฎหมายควบคุมในตอนนี้ มีกฎหมายควบคุมการชกมวยในมลรัฐต่างๆ เป็นจำนวนมากทั้งสิ้น 44 มลรัฐ

ในระหว่างสงครามโลกครั้งที่ 1 ได้มีการฝึกซ้อมมวยกันในกองทัพเพื่อฝึกให้ทหารมีจิตใจกล้าหาญเพื่อการสู้รบ ในยามสงคราม ฝึกให้มีสมรรถภาพทางกาย หูตาไว การทรงตัวดี และเพิ่มประสิทธิภาพในการควบคุมตนเองในเวลาเข้าต่อสู้ และเหนือสิ่งอื่นใดก็ฝึกให้เป็นผู้มีน้ำใจเป็นนักกีฬา มวยสากลจึงเป็นกิจกรรมที่นิยมกันในกองทัพทหารตลอดมา

? มวยสากลเข้าสู่สถานศึกษาครั้งแรกในมหาวิทยาลัยฮาร์วาร์ด เมืองเคมบริดจ์ มลรัฐแมสซาจูเสตด์?เริ่มศึกษากันอย่างจริงจังในระหว่างปี ค.ศ. 1886 ? 1919 และได้รับการสนับสนุนจากประชาชนอย่างเต็มที่ถึงกับได้ตั้งสถาบันสำหรับ ฝึกหัดมวยขึ้นโดยเฉพาะอีกแห่งหนึ่ง ผู้สนใจสมัครเข้ารับการอบรมเป็นจำนวนมากในปี ค.ศ.1920 ได้บรรจุวิชามวยสากลเข้าในหลักสูตรของมหาวิทยาลัยและโรงเรียนต่างๆ ทำให้กิจกรรมมวยสากลได้แพร่ออกไปอย่างกว้างขวาง ปัจจุบันมวยสากลซึ่งได้กำหนดไว้ในวิชาพลศึกษาในโรงเรียนต่างๆ ทั่วทุกมุมโลกได้ขยายตัวมากขึ้นเพื่อให้นักเรียนทุกคนได้ฝึกเป็นศิลปะแห่ง การต่อสู้ป้องกันตัวและทำการแข่งขันระหว่างโรงเรียนประจำ อันเป็นทางหนึ่งที่ผลิตนักมวยสากลให้แก่สมาคมมวยสมัครเล่นและมวยสากลอาชีพ ต่อไป

ข้อมูลจาก การกีฬาแห่งประเทศไทย (กกท.)
http://www.sat.or.th

เชิญแสดงความคิดเห็นอย่างสุภาพ

comments